Ognuno recita il proprio ruolo, immerso in quella divina sensazione di devozione allo scopo comune: la realizzazione di un'opera d'arte, che anche la bonifica bellica sa idealizzare.

News

Ognuno recita il proprio ruolo, immerso in quella divina sensazione di devozione allo scopo comune: la realizzazione di un'opera d'arte, che anche la bonifica bellica sa idealizzare.

ทุ่นระเบิดสังหาร: สงครามไม่รู้จบของผู้รอดชีวิต

Categories: ultime

10/12/2022 Thailandia, Thailandia Centrale, Bangkok, Samut Prakan

 “If you ever come across anything suspicious like this item, please do not pick it up, contact your local law e enforcement agency for assistance”.

ก้าวอันตรายในทุ่งสังหารที่ไม่อาจรู้ว่าสิ่งใต้ฝ่าเท้าที่เยียบลงไปนั้นจะเจอทุ่นระเบิดแบบไหนบ้าง คือสิ่งที่ต้องต่อสู้และกอบกู้ของหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรม ผลไม้หนามแหลมคมกลิ่นฉุนรุนแรงกำลังเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่ขยายตัวมากขึ้นในตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ความฝันของเกษตรกรหลายคนฝังไว้ใต้พื้นที่หลายสิบไร่รอบเขตหมู่บ้านทับทิมสยาม 01 ก่อนที่ฝนแรกฤดูจะมาถึง แนวพื้นที่ใกล้ชายแดนกัมพูชานี้ก็เริ่มมีรถแบคโฮคันโตดาหน้าเดินเครื่องปรับไถหน้าดิน โดยหวังว่าในฤดูฝนครั้งหน้า ต้นกล้าที่ปลูกจะออกดอกผล

แต่ในความเป็นจริง วัตถุหนามแหลมสนิมเกรอะจากใต้ดินเป็นกองพะเนินที่หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมกองทัพเรือ หรือ นปท.ทร. หอบมารวมกันคือ “ขวากเหล็ก” หนึ่งในอาวุธสงครามที่ยังตกค้างอยู่ตามตะเข็บชายแดนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

“เคยได้ยินว่าตรงนู้นตรงนี้เจอระเบิด แต่ยังไม่เคยเจอเอง นี่เป็นครั้งแรก จังหวะที่รถแบคโฮตักขึ้นมาก็มีระเบิดร่วงลงมาเลย 3-4 ลูก”  วิโรจน์ มุขเลิศ ย้อนเหตุการณ์ “เจอระเบิดครั้งแรก” เมื่อกำลังดูแลรถแบคโฮปรับหน้าดินในเตรียมปลูกทุเรียน  เขามีพื้นเพเป็นชาวจันทบุรีที่ทั้งครอบครัวย้ายเข้ามาตั้งรกรากในจังหวัดตราดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ล้มลุกคลุกคลานทำงานกับบุพการีตั้งแต่อายุเพียง 18 ปี จึงเคยได้ยินและได้เห็นเรื่องราวของระเบิดมาก่อน แต่เนื่องจากทั้งครอบครัวอาศัยห่างจากแนวชายแดนที่ถูกระบุให้เป็น “พื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิด” เขาจึงวางใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์อย่างที่เคยได้ยิน

ด้วยพบประสบการณ์สวนยางที่ราคาผันผวนในวัยหนุ่ม ทำให้เขาหันไปลงทุนปลูกไม้ผลเศรษฐกิจส่งออกแทน และสร้างรายได้จนสามารถเลี้ยงดูลูกหลานให้อยู่สบาย จนเขาคิดขยับขยายพื้นที่เพื่อหวังจะมอบเป็นมรดกให้หลานทั้ง 5 คนต่อไปในอนาคต  เพราะทุเรียนเป็นไม้ผลยืนต้น 5 ปีหลังจากลงกล้าจึงจะเริ่มให้ผล และให้ผลต่อไปได้เรื่อยๆ ตลอดอายุไข โดยสวนทุเรียนของวิโรจน์กว่าร้อยละ 70 ออกผลจนเก็บเกี่ยวได้หมดแล้ว แต่พื้นที่สวนที่ตรวจพบวัตถุระเบิดนี้ต้องผ่านการเก็บกู้วัตถุระเบิดให้หมดสิ้นเสียก่อน เนินเขาในพื้นที่ทำกินของนายวิโรจน์เปลี่ยนไป หลังทหารพรานนาวิกโยธินที่ 1 ได้รับแจ้งจากผู้ใหญ่บ้าน เมื่อเข้ามาตรวจสอบเบื้องต้นก็พบเป็นวัตถุระเบิด จากการตรวจพิสูจน์โดยเจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด (EOD) จากหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมกองทัพเรือ สามารถระบุวัตถุระเบิดและอาวุธสงครามได้มากถึง 4 ชนิด เป็นเครื่องกีดขวางแบบขวาก ลักษณะเป็นเหล็กแหลม โดยรอบมีหลักการทำงานคล้ายตะปูเรือใบในปัจจุบัน  อาวุธต่อสู้รถถังสองชนิดคือ ลูกระเบิดอาร์พีจี 2 (RPG 2) จำนวน 16 นัด ลูกกระสุนปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ขนาด 82 มิลลิเมตร จำนวน 43 นัด  ที่เหลือคือทุ่นระเบิด ประเภทสังหารบุคคลสะเก็ดระเบิดฝักข้าวโพด ชนิดพีโอเอ็ม-ซี (POM – Z) จำนวน 1 ลูก และทุ่นระเบิดสังหารบุคคลกระโดดระเบิด ชนิดพีพี-เอ็มไอ-เอสอาร์ (PP-MI-SR) จำนวน 1 ลูก สองสิ่งสุดท้ายนี้คืออาวุธสงครามอันโหดร้ายทารุณ หากมันทำงานเต็มกำลัง น้ำหนักไม่กี่กิโลกรัมจะทำปฏิกิริยากับแป้นรับน้ำหนัก ผู้เคราะห์ร้ายจะถูกแรงระเบิด PP-MI-SR เหวี่ยงร่างโดดเหนือพื้นดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร ฉีกทึ้งขาหรือรยางค์ตามตัว ก่อนจะตกลงมากระแทกพื้นและซ้ำด้วยคมสะเก็ดระเบิดเหล็กจาก POM – Z ที่พุ่งกระจายตัวปักชิ้นเนื้อที่เหลืออยู่ในรัศมีอันตรายหวังผล 20 เมตร นั่นหมายถึงการไม่มีอะไรเหลือ แม้กระทั่งชีวิต เรือเอกรณฤทธิ์ ศรีสถิตย์ ตำแหน่งหัวหน้าชุดเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด นปท.ทร.(นปท.2) เล่าว่า เมื่อกองป้องกันจันทบุรีและตราดแจ้งเรื่องเข้ามา ก็มาสำรวจและพบว่ามีจำนวนเกินกว่าที่คาดไว้

อ่านต่อบทความ

Photo-Source: ngthai.com

นอกจากนี้ยังได้แจ้งเตือนผู้ที่หาปลาว่าถ้าพบวัตถุต้องสงสัยอย่าได้เข้าใกล้หรือเคลื่อนย้ายเพราะอาจจะเกิดอันตรายได้โดยเชื่

Biography of a Bomb

Dear editors, Biography of a bomb is aimed at highlighting the danger caused by unexploded bombs. Moreover, the most important aspect is that we work completely non profit, raising awerness about this topic is what drives us. We apologize if we make use of pictures in yours articles, but we need them to put a context in how findings are done. We will (and we always do) cite source and author of the picture. We thank you for your comprehension

CondividiShare on FacebookShare on Google+Tweet about this on TwitterShare on LinkedIn